บทความทั้งหมด

~そのもの เจ้าเคยได้ยินคำนี้บ่อ คนพูดมักจะเอ่ยคำนามขึ้นมาก่อนแล้วตามด้วย そのもの มา มาทำความเข้าใจกัน

การแก้ไขปัญหา "น้ำท่วม" ของญี่ปุ่นในเมืองใหญ่อย่างมหานครโตเกียว คือการสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ใต้ดินเพื่อรองรับการระบายน้ำ... อุโมงค์ยักษ์นี้ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องเจาะที่มีประสิทธิภาพขนาดใหญ่ เทคโนโลยีที่น่าภาคภูมิใจของญี่ปุ่น มันถูกใช้งานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาตั้งแต่ปี 2000 จนถึงขณะนี้ก็นับเป็นเวลา 20 กว่าปีแล้ว... เทคโนโลยีการเจาะอุโมงค์ดังกล่าว ได้ถูกนำไปใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในหลายประเทศทั่วโลก... ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น

คุณโคจิมะ มิว เป็นพนักงานของบริษัทที่รับทำความสะอาดเคหะสถานที่มีผู้เสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว... จากการทำงานมาเป็นเวลานาน ภาพเหตุการณ์ที่พบเจอ ตั้งแต่สภาพศพรวมไปถึงสภาพของบ้านที่มีคนเสียชีวิต ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเป็นการจำลองรูปย่อส่วนของสถานที่เกิดเหตุ... ไม่เพียงแค่นั้น เธอยังได้พบสัจธรรมที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นจน ไปจนถึงคนที่ร่ำรวย ทุกคนล้วนต่างก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวลำพังด้วยกันทั้งสิ้น... เพราะ “ความตาย” มันไม่เลือกคน ไม่เลือกสถานที่ หรือแม้แต่ฐานะ... (死は平等に訪れる) คุณโคจิมะ สร้างสรรค์ผลงานขึ้นโดยการเรียนรู้ทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด เป้าหมายก็คือ ต้องการให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้ให้ความสำคัญกับคนใกล้ชิดที่อยู่รอบตัว ณ เวลานี้ให้มากขึ้น... เธออยากให้ทุกคนที่ได้เห็นผลงาน ได้ตระหนักรู้ว่า ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังได้เห็นหน้ากันอยู่ ทุกคนควรที่จะ “พูดคุยสื่อสาร” กันและกันให้มากขึ้น... รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงของผู้เสียชีวิตเอง หลังจากที่เจ้าของได้จากไป พวกมันกลายเป็นเหมือน "สิ่งของ" ที่รอการถูกกำจัด... เมื่อเธอถูกญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นขอให้นำไป “กำจัด” คุณโคจิมะรู้สึกอย่างไร และเธอจัดการอย่างไร...

順接( じゅんせつ)การเชื่อมต่อกันไปเป็นลำดับ คำเชื่อมที่ใช้เชื่อมต่อกันเป็นลำดับ เป็นคำเชื่อมที่มีความสำคัญมาก ไม่น้อยไปกว่าคำเชื่อมที่แสดงความขัดแย้ง หรือเสริมความที่ได้เขียนไปในโพสต์ก่อนหน้าเลย... หากเรามีความเข้าใจในความหมายและวิธีการใช้ อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารในทุกรูปแบบได้เช่นกัน... และหากอยากมีทักษะด้านการเขียน การอ่านที่ดี ที่เก่ง ก็ควรใส่ใจ และตั้งใจฝึกฝนการใช้พวกคำเชื่อมเหล่านี้อยู่เสมอ...

添加( てんか)คำเชื่อมที่ใช้ต่อเติมท้าย เพื่อเสริมเนื้อหา เป็นคำเชื่อมที่มีความสำคัญมากอีกรูปแบบหนึ่งของการเชื่อมประโยคในภาษาญี่ปุ่น ทั้งการพูด การอ่าน และเขียน หากเรามีความเข้าใจในคำเชื่อมเหล่านี้ แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารในทุกรูปแบบได้ ใครเขียนบทความ หรือรายงาน ควรเรียนรู้และหัดเขียนตามประโยคตัวอย่างที่ให้ไว้นะคะ

対比( たいひ)การเปรียบเทียบเนื้อหาด้านหน้าและด้านหลัง เป็นการเชื่อมต่อที่แสดงการเปรียบเทียบเนื้อหาในประโยคด้านหน้าและด้านหลัง เป็นอีกคำเชื่อมที่ควรให้ความสำคัญ และควรศึกษาเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในการพูด อ่าน เขียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากอยากมีทักษะด้านการเขียน การอ่านที่ดี ที่เก่ง ก็ควรใส่ใจ และตั้งใจฝึกฝนการใช้พวกคำเชื่อมอยู่เสมอ...

"คำเชื่อม" มีอยู่หลากหลายประเภท หลักๆเลยก็มีคล้อยตาม เสริมความ เรียงลำดับ ขัดแย้ง ฯลฯ คำเชื่อมเหล่านี้มีความสำคัญมาก เพราะในการพูดคุย และการเขียน เราจะต้องใช้คำเหล่านี้เสมอ (เรียงความ รายงาน ฯลฯ) ใครเคยเขียนเรียงความ บทความ หรือแม้แต่ประโยคง่ายๆ จะเข้าใจ

การอ่านประโยคให้เข้าใจ เรื่องของคำสันธาน (คำเชื่อม) ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

ในทางธุรกิจนั้น การเลือกใช้คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ตัวผู้พูดมีความน่าเชื่อถือ สร้างเสน่ห์ ต่อไปนี้จะแนะนำการเปลี่ยนวลีที่ใช้ให้ฟังดูเป็น "มืออาชีพ" ยิ่งขึ้นไปอีก

ในการติดต่อพูดคุยกันในงาน “การถาม” ถือเป็นเรื่องแรกสุด ที่เราจะต้องพบเจอ ไม่ว่าจะสอบถามเกี่ยวกับตัวบุคคล ถามความเห็น ถามความคืบหน้าของงาน ความคืบหน้าของตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือการสอบถามเพื่อขอร้องให้ตรวจสอบเนื้อหาใดๆเกี่ยวกับงาน แต่ทีนี้ เราจะ “เกริ่น” ขึ้นต้นคำถามว่าอย่างไร แล้วจะถามอย่างไรให้สุภาพ

所 場 区 地 ใช้กล่าวถึงสถานที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียดการใช้ ในภาษาญี่ปุ่น มีคันจิจำนวนมากที่ให้ความหมายคล้ายคลึงหรือเหมือนกัน บางครั้งที่เราผู้เรียนภาษาต่างประเทศไม่สามารถแยกความต่างในการใช้ได้ อันที่จริง หากเข้าใจความหมายที่เจาะจงลงไปของแต่ละตัว เราก็จะสามารถใช้ได้อย่างมั่นใจ

อกรรมกริยา และสกรรมกริยา (自動詞と他動詞) เป็นปัญหาอย่างมากสำหรับผู้ที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น การที่ไม่เข้าใจความแตกต่าง จะทำให้การเรียนภาษาญี่ปุ่นมีปัญหาในระยะยาวได้ ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้

หลายท่านใช้ 世話をする จนชิน จนบางครั้งใช้ผิดสถานการณ์ไป ไม่แต่กับชาวต่างชาติ แต่คนญี่ปุ่นเองก็มีใช้ไม่ถูกต้องตามสถานการณ์เช่นกัน

ことだろう・ことでしょう ใช้แสดงการ "คาดคะเน" จะใช้ だろう/でしょう คำเดียวก็ได้ แต่ ことだろう・ことでしょう เป็นภาษาที่มีความเป็นทางการมากกว่า  ใช้คาดคะเนเรื่องที่ตอนนี้ยังไม่รู้แน่ชัด โดยใส่อารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดเข้าไปด้วย และถ้าใช้คู่กับกริยาวิเศษณ์    さぞ(かし)เข้าไปจะยิ่งแฝงความรู้สึกของผู้พูดมากขึ้นไปอีก

เราเรียนกันมานานเกี่ยวกับคำว่า ~と思う แต่เมื่อเรียนลงลึกในรายละเอียด มันจะมีคำว่า ~と思っている และ ~と思われる และอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา แล้วเราเข้าใจวิธีการใช้ที่ชัดเจนหรือไม่?

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้