สังคมและวัฒนธรรม

บทความและข่าวเกี่ยวกับวัฒนธรรม สังคมของญี่ปุ่นจากข่าว 

แปลกำกับ ญี่ปุ่น - ไทย เพื่อการศึกษา

คัตสึโอะบุชิ คือ เนื้อปลาคัตสึโอะ(ปลาโอ) ที่เกิดจากกระบวนการรมควันให้แห้งโดยฟืน และทำให้แห้งตามธรรมชาติสลับกันไป เป็นวัตถุดิบที่นำไปใช้เป็นรสชาติพื้นฐานของอาหารญี่ปุ่นหลากหลายชนิด มีลักษณะที่แข็งเหมือนหิน (แต่หน้าตาเหมือนกิ่งไม้) เจ้าก้อนแข็งๆคัตสึโอะบุชิ จะถูกนำไปขูดด้วยอุปกรณ์สำหรับขูดโดยเฉพาะที่เรียกว่า かつお節削り器(คัตสึโอะบุชิ เคซุริคิ) ส่วนที่ขูดออกมาได้เป็นแผ่นบางๆเรียกกันว่า 削り節 (เคะซุริบุชิ) ซึ่งจะใช้ในการทำน้ำซุปพื้นฐาน และนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารต่างๆ แม้กระทั่งโรยหน้าอาหารเพื่อประดับประดาก็มี เช่น โรยหน้าโอโคโนะมิยากิ คัตสึโอะบุชิ เป็น 発酵食品 (อาหารหมักดอง) ชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ みそ(มิโซ) 醤油 (โชยุ) 納豆 (ถั่วหมักนัตโตะ) และ 梅干 (บ๊วยดอง) อีกทั้ง คัตสึโอะบุชินั้น ยังอยู่คู่กับชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ว่ากันว่า うま味 (อุมามิ) ที่อยู่ในคัตสึโอะบุชิ จะทำหน้าที่เป็นตัวดึงรสชาติอาหารญี่ปุ่นให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น เรียกว่าเป็นตัวตัดสินรสชาติของอาหารกันเลยทีเดียว แน่นอนว่า เจ้ารส “อุมามิ” ที่ว่านี้มีอยู่ใน “น้ำปลา” ของไทยเราด้วยนะ อาหารที่มี うま味 (อุมามิ) อยู่ก็เช่น ชีส, เนื้อ, ปลา, มะเขือเทศ, สาหร่าย เป็นต้น “อุมามิ” ถือเป็นรสชาติที่ 5 จากเดิมที่คนเรามีต่อมรับรสชาติอยู่ 4 รสคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม และ ขม อีกด้วย

การแก้ไขปัญหา "น้ำท่วม" ของญี่ปุ่นในเมืองใหญ่อย่างมหานครโตเกียว คือการสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ใต้ดินเพื่อรองรับการระบายน้ำ... อุโมงค์ยักษ์นี้ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องเจาะที่มีประสิทธิภาพขนาดใหญ่ เทคโนโลยีที่น่าภาคภูมิใจของญี่ปุ่น มันถูกใช้งานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมาตั้งแต่ปี 2000 จนถึงขณะนี้ก็นับเป็นเวลา 20 กว่าปีแล้ว... เทคโนโลยีการเจาะอุโมงค์ดังกล่าว ได้ถูกนำไปใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในหลายประเทศทั่วโลก... ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น

คุณโคจิมะ มิว เป็นพนักงานของบริษัทที่รับทำความสะอาดเคหะสถานที่มีผู้เสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว... จากการทำงานมาเป็นเวลานาน ภาพเหตุการณ์ที่พบเจอ ตั้งแต่สภาพศพรวมไปถึงสภาพของบ้านที่มีคนเสียชีวิต ทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเป็นการจำลองรูปย่อส่วนของสถานที่เกิดเหตุ... ไม่เพียงแค่นั้น เธอยังได้พบสัจธรรมที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นจน ไปจนถึงคนที่ร่ำรวย ทุกคนล้วนต่างก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยวลำพังด้วยกันทั้งสิ้น... เพราะ “ความตาย” มันไม่เลือกคน ไม่เลือกสถานที่ หรือแม้แต่ฐานะ... (死は平等に訪れる) คุณโคจิมะ สร้างสรรค์ผลงานขึ้นโดยการเรียนรู้ทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด เป้าหมายก็คือ ต้องการให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้ให้ความสำคัญกับคนใกล้ชิดที่อยู่รอบตัว ณ เวลานี้ให้มากขึ้น... เธออยากให้ทุกคนที่ได้เห็นผลงาน ได้ตระหนักรู้ว่า ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังได้เห็นหน้ากันอยู่ ทุกคนควรที่จะ “พูดคุยสื่อสาร” กันและกันให้มากขึ้น... รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงของผู้เสียชีวิตเอง หลังจากที่เจ้าของได้จากไป พวกมันกลายเป็นเหมือน "สิ่งของ" ที่รอการถูกกำจัด... เมื่อเธอถูกญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นขอให้นำไป “กำจัด” คุณโคจิมะรู้สึกอย่างไร และเธอจัดการอย่างไร...

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้