ความแตกต่างของ ところで、ところへ、ところに、ところを

Last updated: 11 ม.ค. 2566  |  525 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความแตกต่างของ ところで、ところへ、ところに、ところを

ところで、ところへ、ところに、ところを


ใช้อย่างไร แตกต่างกันอย่างไร ใช้คำช่วยไหนดี


ความหมาย : ใช้ในความหมายเดียวกันกับ

~タイミングで、~タイミングに、~タイミングを


= เวลาพอเหมาะพอดีที่....


ใช้ตอนที่เราอยากพูดว่า

“ในเวลาที่พอดีกับที่.... ก็มีบางอย่างเกิดขึ้นขัดจังหวะ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้น”
_________________________________


ところใช้แสดงจุดของเวลา ในโครงสร้างของ 「กริยา + ところ + คำช่วย


และเราสามารถใช้คำว่า タイミング... แทนได้ในความหมายเดียวกันได้


そのチームが同点のゴール決めたところで、試合終了のホイッスルが鳴った。


= เสียงนกหวีดสุดท้ายดังขึ้นในตอนที่ทีมทำประตูตีเสมอกัน


そのチームが同点のゴールを決めたタイミングで、試合終了のホイッスルが鳴った。


= เสียงนกหวีดสุดท้ายดังขึ้นในตอนที่ทีมทำประตูตีเสมอกัน
________________________________


กริยา + ところ + คำช่วย で、へ/に、を
.


①そのチームが同点のシュートを決めたところで、試合終了のホイッスルが鳴った。


= เสียงนกหวีดสุดท้ายดังขึ้นในตอนที่ทีมทำประตูตีเสมอกัน


②財布を無くして困っていたところへ(に)、彼が偶然通りかかってお金を貸してくれた。


= ตอนที่ฉันกำลังเดือดร้อนเพราะทำกระเป๋าตังค์หาย เขาก็บังเอิญผ่านมาและให้เงินฉันยืม


③他の女性とデートしているところを、彼女に見られてしまった。


= ถูกเธอจับได้ ตอนที่กำลังเดทกับผู้หญิงคนอื่น
________________________________


การที่เราจะใช้ 「で、へ/に、を」ตัวใดตามหลัง「ところ」นั้นขึ้นอยู่กับ 

“กริยาในภาคแสดงที่ตามมาด้านหลัง”


〜ところで


เรามักใช้ในรูปของ「กริยารูปた + ところで


ใช้ในความหมายว่า เหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงในข้อความหลังเกิดขึ้นในจังหวะที่ “เหตุการณ์ในข้อความหน้าสิ้นสุดลงพอดี”


มักเห็นคำกริยา เช่น


「終わる」= จบ, สิ้นสุด, เสร็จสิ้น


「終了」= จบ, ปิด, เสร็จสิ้น


และกริยาอื่นๆที่มากมายหลายหลาย (ที่แสดงการสิ้นสุด จบ)


★ 最後の問題を解いたところで、ちょうど試験終了のベルが鳴った。


= กระดิ่งสิ้นสุดการทำข้อสอบดังขึ้นพอดี ในตอนที่(ฉัน)แก้โจทย์ข้อสุดท้ายเสร็จ


★この部屋をだいたい片付いたところで、今日の作業は終わりにしましょう。


= ตอนที่ห้องนี้ได้รับการเก็บกวาดเป็นส่วนใหญ่แล้ว เรามาทำงานของวันนี้ให้เสร็จกันเถอะ


★試合の残り時間が5分を切ったところで、監督が選手の交代を告げた。


= โค้ชผู้ฝึกสอนได้แจ้งการเปลี่ยนตัวผู้เล่น ในตอนที่เวลาการแข่งขันเหลือเพียงแค่ 5 นาที


★油の温度が約180度になったところで、食材を入れます。


= ใส่เครื่องปรุงลงไปตอนที่อุณหภูมิของน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 180 องศา


.


~ところに กับ ~ところへ


「~ところに」กับ「~ところへ」ใช้ในความหมายเดียวกัน ใช้แทนกันได้


และจะใช้กับกริยาที่แสดง “การเคลื่อนที่” เช่น


「行く」 >> ไป  


「 来る」>> มา


「入れる」 >> บรรจุ ใส่เข้าไป รับเข้ามา


「通りかかる」 >> ผ่าน


「(電話が)かかる 」>> มีสายโทรเข้า


★私が一生懸命勉強しているところへ、彼が邪魔しに来たんです。


= เขาเข้ามาก่อกวน ขณะที่ฉันกำลังตั้งใจอ่านหนังสืออยู่


★私が帰ろうとしていたところに、緊急の電話がかかってきた。


= ขณะที่ฉันกำลังจะกลับ ก็มีคนโทรฉุกเฉินเข้ามา


★ちょうど急いでいたところへ、運よくタクシーだ通りかかった。


= โชคดีที่แท็กซี่ผ่านมา ตอนที่กำลังรีบพอดี


★昼休憩をとろうとしたところに、ちょうど仕事の電話がかかってきた。


= มีโทรศัพท์เกี่ยวกับงานโทรเข้ามาพอดี ตอนที่กำลังจะพักกลางวัน


★私がちょうど困っていたところへ、救いの手を差し伸べてくれたのがあの人です。


= เขาเป็นคนที่ยื่นความช่วยเหลือมา ตอนที่ฉันกำลังลำบากอยู่พอดี
.


~ところを


「ところを」จะใช้กับ


 กริยาที่ “แสดงการกระทำโดยตรงหัวข้อ หรือเป้าหมาย” เช่น


「殴る 」>> ชก ตี ต่อย


「襲う」>> เข้าโจมตี


「攻撃する」 >> โจมตี จู่โจม


 กริยาที่”เกี่ยวข้องกับการดู มอง เห็น” เช่น


「見る」>> ดู เห็น มอง


「見つかる」 >> หาพบ


「目撃する」>> เป็นพยาน


「発見する」 >> ค้นพบ


 กริยาต่อไปนี้ รวมถึงกริยาที่มีความหมายในลักษณะเดียวกัน


「止める 」>> หยุด, จอด, ทำให้หยุดอยู่กับที่


「捕まる」 >> ถูกจับกุม


「助ける」 >> ช่วยเหลือ


★その女性は一人で自宅に帰っているところを襲われた。


= ผู้หญิงคนนั้นถูกจู่โจมใส่ตอนที่กำลังกลับบ้านคนเดียว


★彼が商品を万引きしているところを目撃してしまった。


= (ฉัน)เป็นพยานเห็นเขาตอนที่กำลังขโมยสินค้าในร้านค้า


★その犯人は、空き家に隠れていたところを捕まった。


= คนร้ายคนนั้นถูกจับได้ ตอนที่ซ่อนตัวอยู่ในบ้านร้าง


★私の息子は、川で溺れかけていたところを勇敢な青年に助けられた。


= ลูกชายของฉันได้รับการช่วยเหลือจากวัยรุ่นที่กล้าหาญจากการจมน้ำในแม่น้ำ


__________________


ทีเซนเซ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้