Last updated: 23 ก.ค. 2565 | 272 จำนวนผู้เข้าชม |
敬語 (คำยกย่อง) เปรียบเสมือน “ยาขม” ของผู้เรียนชาวต่างชาติ…
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้เจ้าของภาษาที่เป็นชาวญี่ปุ่นเอง ก็ลำบากไม่น้อยไปกว่าเราเช่นกัน…
“ทำไมยากจัง” “เรียนไปทำไมกันนี่” เกิดคำถามมากมาย...
ก็อย่างที่มักกล่าวเป็นประจำว่า เรียนภาษา = เรียนวัฒนธรรม
เราเรียนภาษาของเขา เราก็ต้องทำความเข้าใจทั้งในแง่ของตัวภาษา และวัฒนธรรมที่สอดแทรกเข้ามาด้วย
“วัฒนธรรมที่ยกอีกฝ่ายให้สูง แล้วก้มให้ต่ำเข้าไว้” ด้วย “วาจา”
แต่กระนั้น แม้ว่าเราจะไม่สามารถใช้คำเหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่ว ก็สามารถใช้กริยารูปสุภาพปกติ ~ます แทนได้
เพราะเมื่ออีกฝ่ายฟังเข้าใจตามที่เราต้องการจะสื่อ ก็ถือได้ว่าการสื่อสารได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว
เนื่องจากปลายทางของการเรียนภาษา คือการสื่อสารที่เข้าใจตรงกันของทั้งสองฝ่าย
.
แต่ทว่า…
ภาษาในระดับธุรกิจ ビジネス นั้น เราหลีกเลี่ยงพวกคำยกย่อง และถ่อมตน ไม่ได้เลย...
การเรียนภาษาในเชิงธุรกิจ ไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงในแง่ของการนำไปประยุกต์ใช้ในการพูดของเราเอง...
แต่ยังช่วยให้เราฟังการสนทนาในเชิงธุรกิจได้เข้าใจ ไม่คลาดเคลื่อน ซึ่งประเด็นหลังนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง...
ขอจงดูตัวอย่างบทสนทนาเหล่านี้
[ในร้านอาหาร]
店員:どうぞおかけください。/どうぞお座り下さい。
(座ってください = おかけください/お座りください)
客:あ、すみません。
พนักงานร้าน : เชิญนั่งค่ะ
ลูกค้า : ขอบคุณครับ
หรือ…
客:すみません、水一本ください。
店員:はい、少々お待ちください。(待ってください = お待ちください)
ลูกค้า : ขอโทษค่ะ ขอน้ำขวดหนึ่งค่ะ
พนักงานร้าน : ได้ครับ คอยสักครู่นะครับ
.
จะเห็นได้ว่า คำว่า 座ります (すわります)>> นั่ง และ 待ちます(まちます)>> คอย
เราทราบกันดีในความหมายของกริยาสองตัวนี้ แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์ข้างต้น พนักงานในร้านได้เปลี่ยนจากคำว่า...
座ってください เปลี่ยนไปเป็น おかけください/お座りください
待ってください เปลี่ยนไปเป็น お待ちください
เหล่านี้เป็นการใช้คำที่ยกย่องคู่สนทนาที่เป็นลูกค้า ซึ่งเราก็มักได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ
และเมื่อเราได้เรียนรู้ เราก็จะสามารถฟังเข้าใจ และนำไปใช้ได้ในการพูดของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
“เออ ทำไมต้องเปลี่ยนไปพูดอะไรยากๆ แค่คำว่า “นั่ง” เองนะ” หลายท่านอาจคิดเช่นนี้อยู่
เอาละ... เรียนภาษา = เรียนวัฒนธรรม
ขอจงระลึกไว้เถิด...
.
ท้ายที่สุดนี้อยากบอกว่า...
หลายท่านได้ฝึกฝน เรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์จนเชี่ยวชาญ และสามารถใช้คำเหล่านี้ได้อย่างคล่องแคล่ว ก็เป็นที่น่าชื่นชมยินดียิ่ง...
ชื่นชมในความพยายามขวนขวายเรียนรู้ ชื่นชมในความอุตสาหะของท่าน
แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียน หรือเรียนมานานแล้ว แต่ยังไม่เชี่ยวชาญในการใช้ ก็อย่าได้เป็นกังวลไป
ค่อยๆฝึกฝน ค่อยๆเรียนรู้ อย่าได้ท้อแท้ หรือคิดน้อยใจว่าเหตุใดจึงพูดไม่ได้อย่างคนอื่นเขา...
.
“ภาษาไม่ใช่เครื่องวัดความฉลาดของคน แต่เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร”
.
ทีเซนเซ
_____________________________
วลีด้านซ้าย เมื่อเปลี่ยนให้เป็นด้านขวา เราเรียกว่า ビジネスフレーズ
ใช้ในเชิงธุรกิจ หรือในการทำงาน ควรค่าแก่การจดจำเป็นอย่างยิ่ง
ビジネスフレーズ มีมากมายมหาศาล
แต่ที่เลือกหยิบวลีเหล่านี้มา ก็เนื่องจากเห็นว่าได้ยินได้ฟังกันบ่อยในชีวิตประจำวัน
น่าจะมีประโยชน์ต่อทุกท่านผู้ติดตามเพจนี้พอสมควร
.
ตัวอย่างประโยคและความหมายอยู่ในภาพแต่ละภาพค่ะ
5 ต.ค. 2565
12 ม.ค. 2566
18 ก.ย. 2565
11 ม.ค. 2566