ความแตกต่างระหว่าง と思う・と思っている・と思われる

Last updated: 23 ก.ค. 2565  |  320 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความแตกต่างระหว่าง と思う・と思っている・と思われる

〜と思う

〜と思っている

〜と思われる


ทุกท่านเข้าใจความแตกต่างของการใช้หรือไม่?


การเข้าใจการใช้ที่ชัดเจน และใช้อย่างถูกต้อง จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

------------------

〜と思う

① ใช้วางหลังข้อความ แสดงว่าข้อความนั้นเป็นการลงความเห็นจากมุมมองของผู้พูด หรือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว 「主観的」

② ถ้าเป็นประโยคคำถามจะเป็นการถามความเห็น หรือความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ฟัง

③ ประโยคที่จบด้วยรูปพจนานุกรม 「と思う」หรือรูปます「と思います」นั้น ประธานคือ “ผู้พูด” เสมอ ไม่ใช่บุรุษที่ 3

例⑴ 今日は雨が降ると思います。

(Kyou wa ame ga furu to omoimasu)

>> คิดว่าวันนี้ฝนคงจะตก (ความคิดเห็นส่วนตัว)


例⑵ 彼の言ったことは嘘だと思う。

(kare no itta koto wa uso da to omou)

>> ผมว่าเรื่องที่เขาพูดเป็นเรื่องโกหก (ความคิดเห็นส่วนตัว)


例⑶ 教師:日本の映画は面白いと思いますか。

(nihon no eiga wa omoshiroi to omoimasuka)

อาจารย์ : คิดว่าภาพยนตร์ของญี่ปุ่นสนุกมั้ย? (ถามความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ฟัง)

学生:はい、面白いと思います。

(hai, omoshiroi to omoimasu)

นักเรียน : ครับ คิดว่าสนุกดีครับ
____________________________

〜と思っている

① ใช้วางหลังข้อความ แสดงความหมายว่า “ผู้พูด” หรือ “บุคคลที่ 3” มีความคิดเห็น หรือมีความเชื่อเช่นนั้น

② เมื่อเทียบกับ 「思う」แล้ว 「思う」จะให้ความรู้สึกว่าเป็นการลงความเห็นของผู้พูดในตอนนั้น ในขณะที่ 「思っている」เป็นความเห็นหรือความเชื่อที่มีมาก่อนหน้านั้นจนถึงปัจจุบัน

③「思っている」ใช้กล่าวถึงการแสดงความคิดเห็นหรือการลงความเห็นของบุรุษที่ 3 ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างกับ 「思う」เพราะ 「思う」ไม่สามารถใช้กับประธานบุรุษที่ 3 ได้

例⑴ 私は自分のしたことが正しいと思っている。

(watashi wa jibun no shita koto ga tadashii to omotteiru)

>> ฉันคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำถูกต้อง (ความคิดเห็นส่วนตัว)

例⑵ 警察はあの男が犯人だと思っている。

(keisatsu wa ano otoko ga hannin da to omotteiru)

>> ตำรวจเชื่อว่าชายคนนั้นคือคนร้าย (ความคิดของบุรุษที่ 3)

____________________________

〜と思われる

① แสดงความหมายว่า “เป็นความคิดเห็นที่เกิดขึ้นมาเองในความคิดโดยมิได้ฝืน หรือพยายามเค้นออกมา”

② ใช้ในกรณีที่กล่าวถึงความคิดเห็นของตนเองจากมุมมองของคนทั่วไป 「客観的」ไม่ใช่จากมุมมองส่วนตัว 「主観的」หรือใช้กล่าวถึงความคิดเห็นของตนเองให้ฟังดูนุ่มนวลขึ้น

③ ใช้ในข้อเขียนที่ต้องใช้ภาษาเขียน อย่างในบทความวิชาการ การบรรยาย ปาฐกถา

④ บางครั้งจะใช้ 「ように」แทน 「と」เป็น 「ように思われる」

例⑴ このままの状態では環境汚染は進む一方だと思われる。

(konomama no jyoutai dewa kankyouosen wa susumu ippou da to omowareru )

>> ถ้าสภาพเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ คิดว่ามลภาวะเป็นพิษก็จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ (มุมมองของคนทั่วไป)

例⑵ 私にはこのことが正しいとは思われません。

(watashi wa konokoto ga tadashii towa omowaremasen)

>> ฉันไม่คิดว่าเรื่องนี้จะถูกต้อง (มุมมองของตนเองที่ฟังนุ่มนวลขึ้น)
.
.
.
เครดิตเนื้อหาบางส่วน : 日本語文型辞書

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้